บริษัท ไทยลีก จำกัด ประกาศเลื่อนการแข่งขันฟุตบอลอาชีพ ฤดูกาล 2564/65 ออกไป เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังน่าเป็นห่วง
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 23 กรกฎาคม 2564 บริษัท ไทยลีก จำกัด นำโดย กรวีร์ ปริศนานันทกุล รักษาการประธานบริหาร ได้มีการจัดงานประชุมออนไลน์ เพื่อพูดคุยกับตัวแทนสโมสรในระดับไทยลีก 1-2 สำหรับสถานการณ์การจัดแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพภายในประเทศขึ้น
สืบเนื่องจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบไปทุกภาคส่วน ก่อนที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ได้มีการเพิ่มความเข้มข้นในมาตรการการยับยั้งการแพร่ระบาดใน 13 จังหวัดสีแดงเข้ม ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, นครปฐม, นนทบุรี, นราธิวาส, ปทุมธานี, ปัตตานี, พระนครศรีอยุธยา, ยะลา, สงขลา, สมุทรปราการ และสมุทรสาคร พร้อมกับมีมาตรการขยายปิดกิจการหรือปิดสถานที่ 10 ประเภทกิจการ รวมไปถึงสนามกีฬาฟุตบอลด้วยนั้น ทำให้ ไทยลีก ต้องมีการหารือกับตัวแทนสโมสรอย่างเร่งด่วนในเรื่องของการจัดกแข่งขันประจำฤดูกาล 2564/65
ภายหลังการประชุม ไทยลีก ได้ข้อสรุปจากการหารือร่วมกันว่า การแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพประจำฤดูกาล 2564/65 จะขยับปฏิทินการแข่งขันไปตามนี้
ไทยลีก 1 เริ่มแข่งขันวันที่ 3 กันยายน พ.ศ.2564 สิ้นสุดการแข่งขันวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2565
ไทยลีก 2 เริ่มแข่งขันวันที่ 4 กันยายน พ.ศ.2564 สิ้นสุดการแข่งขันวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2565 ส่วนการแข่งขันรอบเพลย์ออฟ เริ่มวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2565 สิ้นสุดการแข่งขันวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ.2565
ฟุตบอลไทยแลนด์ แชมเปียนส์ คัพ แข่งขันวันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2564
เอฟเอ คัพ รอบแรก เริ่มแข่งขันวันที่ 29 กันยายน พ.ศ.2564 นัดชิงชนะเลิศ 28 พฤษภาคม พ.ศ.2565
ลีก คัพ รอบแรก เริ่มแข่งขันวันที่ 18 กันยายน พ.ศ.2564 นัดชิงชนะเลิศ 23 เมษายน พ.ศ.2565
ตลาดซื้อขายนักเตะ (รอบแรก) วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2564 ถึง 17 สิงหาคม พ.ศ.2564
กรวีร์ ได้ออกมากล่าวในการแถลงข่าวให้สื่อมวลชนรับทราบสำหรับการขยับปฏิทินการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพฤดูกาล 2564/65 ว่า “ผมทราบดีว่าในช่วงวิกฤตตอนนี้ แฟนบอลเอง สื่อมวลชนเอง ก็ตั้งหน้าตั้งตารอคอยว่าจะกลับมาแข่งได้ไหม หรือเราจะมีมาตรการอย่างไร ซึ่งเราก็ได้มีการประชุมกับสโมสรในไทยลีก 1-2 เมื่อช่วงเช้า เกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นประกาศจาก ศบค. ซึ่งมากระทบการจัดการแข่งขันฟุตบอล โดยตอนแรกเราขยับจากต้นเดือนสิงหาคมมาเป็นช่วงกลางเดือนสิงหาคม”
“แต่จากคำสั่งของ ศบค. ล่าสุด ที่มีการปิดสนามกีฬา แน่นอนว่าส่งผลกระทบต่อสโมสรในลีกอาชีพของเมืองไทยในทุกระดับ รวมถึงการประกาศห้ามการชุมนุมรวมกันไม่เกิน 5 คน ซึ่งเป็นอุปสรรคสำหรับการจัดแข่งขัน หรือการเตรียมความพร้อมของสโมสรฟุตบอลอีกด้วย แม้ตอนนี้สโมสรจะเริ่มการพรีซีซั่นไปแล้ว”
“สถานการณ์ ณ ปัจจุบัน สื่อมวลชนทุกคนคงทราบดีว่าเรามีพื้นที่สีแดงเข้มถึง 13 จังหวัด พื้นที่ควบคุมสูงสุดอีก 53 จังหวัด ซึงพื้นที่เหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกับการแข่งขันฟุตบอลไทยลีกทุกระดับทั้งสิ้น โดยมีถึง 7 สโมสรในไทยลีก 1 และ 6 สโมสรในไทยลีก 2 ที่อยู่ในพื้นที่สีแดงเข้ม และที่เหลือก็อยู่ในพื้นที่สีแดงทั้งหมด เว้นเพียงแค่ แพร่ ยูไนเต็ด และจากที่เราได้บอกไปตอนต้นว่ามันมีผลกระทบต่อเรื่องของสนาม การเตรียมความพร้อม และการจัดการของสโมสร รวมถึงลีกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อีกทั้งเราได้รับหนังสือจาก กกท. เมื่อสัปดาห์ก่อน เพื่อขอความร่วมมือในการห้ามการจัดการแข่งขัน หรือเลื่อนการแข่งขันออกไป”
“เมื่อมีหนังสือแจ้งออกมา หากเราจะกลับมาจัดแข่งขัน เราต้องกลับมาทำหนังสือขออนุญาต กกท. รวมถึงศบค. เพื่อกำหนดมาตรการแข่งขัน รวมถึงระยะเวลาที่จะใช้แข่งขัน เพื่อทำให้มั่นใจว่าการแข่งขันฟุตบอลจะไม่เป็นปัญหา และเป็นคลัสเตอร์ที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดเพิ่ม ทางเราเอง ได้ทำงานร่วมกัยสมาคมฯ, กรมควบคุมโรค และศบค.อยู่ตลอด เราได้สอบถามศบค.ไปแล้วว่าต้องทำเรื่องหาศบค. อีกหรือไม่ แต่ในวันที่ 21 กรกฎาคมที่ผ่านมา ที่มีประกาศไม่ให้ใช้สนามกีฬา เราจึงจำเป็นต้องพูดคุยกับสโมสรสมาชิกเพื่อทำความเข้าใจ และเพื่อนำมาปรับสำหรับการเตรียมความพร้อมครับ”
“ผมยืนยันกับทุกท่านได้เลยครับว่า ไทยลีก, สมาคมฯ และสโมสรเห็นตรงกันถึงความสำคัญในการทำให้ฟุตบอลกลับมาแข่งขันได้ เพราะหากฟุตบอลลีกแข่งขันไม่ได้ ทุกฝ่ายก็เสียหายหมด นี่จึงเป็นเรื่องที่เราตระหนักอยู่ตลอด รวมถึงทำให้ฟุตบอลกลับมาแข่งขันได้ อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่าสื่อมวลชนก็เข้าใจว่าเรามีผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มมาตลอด ต่างจากช่วงที่เราแข่งจบฤดูกาลไป”
“เมื่อเช้า เราได้มีการพูดคุยกันหลายเรื่อง และเรื่องที่มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญเรื่องแรกคือ เรามีมติร่วมกันในการเลื่อนการแข่งขันเป็นช่วงต้นเดือนกันยายน แต่ช่วงเวลาของการจบเลกแรก หรือการจบฤดูกาลแข่งขันยังคงเหมือนเดิม เรื่องที่สองคือกากรที่เราจะนำฟีฟ่าเดย์มาใช้กับการแข่งขันลีก ส่วนการแข่งขันซูซูกิ คัพ เราได้รับการยืนยันว่ายังมีการจัดแข่งขันเหมือนเดิม ในช่วงวันที่ 5 ธันวาคม – 1 มกราคม 2565 เราจึงยังต้องมีการหยุดลีก”
“เรื่องต่อมา สโมสรใน 13 จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้มว่า หากจะกลับมาจัดแข่งขัน สโมสรที่อยู่ในพื้นที่นี่จะไม่มีการจัดการแข่งขัน โดยสโมสรจะต้องหาสนามสำรองเพื่อใช้แข่งขัน และมีการเสนอเข้ามาให้ไทยลีก ซึ่งนี่จะเป็นการใช้แก้ปัญหาในช่วงแรกเท่านั้น เพราะเราคงไม่จัดแข่งแบบนี้ไปตลอดฤดูกาล ซึ่งเราจะดูจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นต่อไป”
“ประเด็นต่อมา เราจะมีการตั้งคณะทำงานจากตัวแทนสโมสรในไทยลีก 1-2 ในการทำงานร่วมกับสมาคมฯ และฝ่ายสิทธิประโยชน์ เพื่อกำหนดแนวทางในการกลับมาจัดการแข่งขัน รวมถึงขออนุญาตกำหนดหลักเกณฑ์ที่จะมาใช้กับทุกสโมสร หากกลับมาแข่งขันได้ นี่เป็นเรื่องสำคัญที่สโมสรจะเข้ามามีส่วนร่วมกำหนดวิธีการแข่งขัน และทิศทางการแข่งขันครับ”
“เรื่องสุดท้าย เราได้มีการพูดคุยกับกรมควบคุมโรค เพื่คุยเรื่องมาตรฐานสำหรับการจัดแข่งฟุตบอล ซึ่งเราพูดคุยเสร็จสมบูรณ์แล้ว และรอการคุยกับศบค. แต่จากการแพร่ระบาดของไวรัสอย่างหนัก ทำให้เราไม่สามารถเข้าไปพูดคุยกับศบค. ได้ และตอนนี้เรา กับสโมสรได้เห็นตรงกันว่า จะขยับการแข่งขันเป็นช่วงต้นเดือนกันยายน แต่หากสถาณการณ์ยังเลวร้ายกว่าเดิม เราอาต้องมีการพูดคุยอีกครั้งในเรื่องของการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นการจัดบั้บเบิ้ล หรือการหาสนามกลางครับ หากแผนแรกไม่ได้รับการอนุมุติกับศบค.”
“ทั้งนี้ ผมต้องขอย้ำกับสื่อมวลชนทุกท่านอีกครั้งว่า อำนาจในการตัดสินใจสำหรับการกลับมาแข่งขันนั้นไม่ได้อยู่กับสมาคมฯ แล้ว ตอนนี้อำนาจขึ้นกับภาครัฐที่จะต้องกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ครับ ซึ่งเราหวังว่าการจัดการแข่งขันเอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ ลีก แบบบั้บเบิ้ล ที่ไม่มีการติดเชื้อเลย จะทำให้ศบค. เชื่อมั่น และให้ความมั่นใจในการจัดการแข่งขันแก่เราครับ ขอบคุณครับ”
ทั้งนี้ ไทยลีก เข้าใจในสถานการณ์ความรุนแรงของการแพร่ระบาดครั้งนี้ และมีความจำเป็นต้องปฏิบัติตามคำสั่งของ ศบค. อย่างเคร่งครัด จึงเรียนมาเพื่อทราบ และต้องขออภัยในความไม่สะดวกแก่ทุกท่าน.
● อยากเล่นสล็อตต้อง Gamemun.com เท่านั้น
● อยากแทงบอลต้อง Ufa111.bet , Ufadb88.com เท่านั้น
● อยากเล่นคาสิโน่ออนไลน์ต้อง Ufa108.com เท่านั้น